วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วีดีโอyoutobe

นวัตกรรมpowerpoint

บทความ

รายงาน


นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา



เรื่อง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน E-learning



จัดทำโดย

นางสาวมาริสา โรบิน

รหัสประจำตัว 53109510012 รุ่นที่ 4 (งบไทยเข้มแข็ง)



เสนอ

ดร.ชฎาภรณ์ โฆษิตานนท์ สงวนแก้ว





รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 951-202

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

วิทยาลัยราชพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี

คำนำ



การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องสร้างเยาวชนเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่ โดยการจัดสภาพแวดล้อมใหม่ทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มีการบัญญัติไว้ในหมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิด “ การสอนด้วยเทคโนโลยี ” มากกว่า “ การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ”





ผู้จัดทำ

นางสาวมาริสา โรบิน



สารบัญ



เรื่อง หน้า

เทคโนโลยีการศึกษา 1 - 2

นวัตกรรมการศึกษา 3

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม 4

ขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา 5

คุณลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการศึกษา 5

นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา 5

สื่อการเรียนการสอน 6

ประเภทสื่อการสอน 7

หลักการเลือกสื่อการสอน 7

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( E-learning Media ) 8

ลักษณะสำคัญของ ( E-learning Media ) 9

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย E-learning Media 9 - 10

ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ E-learning ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน 11

จุดเด่น ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน 12

ข้อด้อย ของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 13

ข้อเสนอแนะ การนำวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในปัจจุบัน 14

ต้องคำนึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียน

บรรณานุกรม 15































( 1 )



เทคโนโลยีการศึกษา



Edgar Dale กล่าวว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” ไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุตามแผนการ



Gagne’ และ Briggs ให้ความหมายว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” นั้น พัฒนาการจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ โดยรวมถึง

1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้

2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้

3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ



Good กล่าวว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” หมายถึง การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือของระบบการสอน เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน



Heinich,Molenda และ Russel เสนอว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” คือ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ปฏิบัติได้ในรูปแบบของการเรียนการสอน อีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาทางการสอน ซึ่งก็คือความพยายามสร้างการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการออกแบบดำเนินการ และประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานการศึกษาวิจัยในการเรียนและการสื่อสาร



Kencth กล่าวว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



ไชยยศ เรื่องสุวรรณ กล่าวว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” คือ วิธีการนำเอาความรู้ แนวความคิด และกระบวนการ ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเป็นผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ









( 2 )



วิจิตร ศรีสอ้าน กล่าวว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” นั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการแนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญญาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงาน และด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน ตามนัยนี้ เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ และการใช้เทคนิค และวิธีการใหม่ ๆ



เห็นได้ชัดเจนว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” ครอบคลุมความหมายกว้างขวาง ซึ่งในภาษาสากลนั้น คำว่า Educational Technology มีความหมายรวมถึงเทคโนโลยีการสอน ( Instructional Technology ) เทคโนโลยีการเรียนรู้ ( Learning Technology ) สื่อการศึกษา

( Educational Media ) และคำอื่น ๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วย แต่คำว่า Educational Technology และ Instructional Technology ดูจะได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยมักจะถูกใช้ในความหมายอย่างเดียว



สรุปได้ว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” หมายถึง การนำความรู้ ความคิดและวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด





( 3 )



นวัตกรรมการศึกษา



บุญเกื้อ ควรหาเวช กล่าวว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” ( Educational Innovation ) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ ( Interactive Video ) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเตอร์เน็ต ( Internet ) เหล่านี้เป็นต้น



วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา กล่าวว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Aids Instruction ) การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ ( Interactive Video ) สื่อหลายมิติ

( Hypermedia ) และอินเตอร์เน็ต ( Internet ) เหล่านี้เป็นต้น



จากความหมายที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ จึงพอสรุปได้ว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว เข้ามาใช้ระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวัดที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ ( Interactive Video ) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเตอร์เน็ต ( Internet ) เหล่านี้เป็นต้น



( 4 )



เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม



ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ คือ

1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน อาจเป็นของเก่าทีใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์

3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรือยู่ระหว่างการวิจัย ว่า “ สิ่งใหม่ ” นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งหรือระบบงานในปัจจุบัน “ สิ่งใหม่ ” นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่





ความสำคัญของนวัตกรรมต่อการศึกษา



1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

2. เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา

4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง

5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษา เพื่อช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



( 5 )



ขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา



1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ ๆ

2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน

3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอน

5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ

6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่





คุณลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการศึกษา



1. เป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์โดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนในสภาพจริง

2. เข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม และสอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา

3. ไม่มีความซับซ้อน ง่ายและสะดวกในการนำไปใช้

4. สามารถทดลองใช้ หรือทดสอบได้

5. สามารถสังเกตเห็นรูปแบบหรือผลที่เกิดจากนวัตกรรมได้อย่างชัดเจต





นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา



นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา ( Innovation Technology in Education ) เป็นการนำคำสองคำมาผสมกันเพื่อให้มีความหมายที่กว้างและชัดเจนขึ้น โดยการนำคำว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ( สิ่งใหม่ การกระทำ ใหม่ทางการศึกษา ) : Innovation ” มาผสมกับคำว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา

( เครื่องมือ วิธีการ ) : Technology ” ซึ่งหมายความถึงเทคโนโลยีการศึกษาที่มีความใหม่ ทันสมัย และมีประสิทธิภาพกว่าเทคโนโลยีการศึกษาอื่น ๆ เช่น e - Learning , m – Learning เป็นต้น

( 6 )



สื่อการเรียนการสอน



ไฮนิคส์ ( Heinich ) และคณะ ให้คำจำกัดความว่า “ สื่อ ” ไว้ดังนี้ “ Media is a channel of communication ” ซึ่งสรุปเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ “ สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ” Heinich และคณะ ยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า สื่อ มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง ( between ) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนินสารกับผู้รับสาร



เกอร์ลัช และอีลี ( Gerlach and Ely ) กล่าวว่า “ สื่อการสอน ” หมายถึง บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อม จัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น



กิดานันท์ มลิทอง กล่าวว่า “ สื่อการสอน ” หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำ และถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้



ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมายของ “ สื่อการสอน ” คือ วัสดุ ( สิ้นเปลือง ) อุปกรณ์

( เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย ) วิธีการ ( กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ ( อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม ) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า “ สื่อการสอน ” หมายถึงตัวกลางหรือช่องทางที่บรรจุเนื้อหา สาระ หรือสิ่งที่ผู้สอนต้องการถ่ายทอดไปยังผู้เรียน ช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้









( 7 )



ประเภทสื่อการสอน



ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อการสอนไว้ 3 ประเภทดังนี้

1. วัสดุ ได้แก่ สิ่งสิ้นเปลืองทั้งหลาย เช่น รูปภาพ บัตรคำ แผนภูมิ หนังสือ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น

2. อุปกรณ์ ได้แก่ บรรดาเครื่องมือทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับวัสดุอื่น และสิ่งที่ใช้ในตัวของมันเอง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์, เครื่องฉายสไลด์, เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เป็นต้น

3. กิจกรรมหรือวิธีการ ได้แก่ กระบวนการที่จะใช้ทั้งวัสดุและอุปกรณ์ประกอบกัน หรือ กระบวนการของมันเองล้วน ๆ ได้แก่ การสาธิต กลุ่มสัมพันธ์ นิทรรศการ ทัศนะศึกษา การอภิปราย เป็นต้น



เอดการ์ เดล ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอน โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรมเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เอดการ์ เดล ได้เขียนให้เป็นความเกี่ยวพันของประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เรียกว่า กรวยประสบการณ์ ( Cone of Experience ) การใช้กรวยประสบการณ์จะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์ หรือการกระทำจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผ่านสื่อต่าง ๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น





หลักการเลือกสื่อการสอน



การเลือกสื่อการสอนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด จำเป็นต้องมีจุดประสงค์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม ซึ่งหลักการเลือกสื่อการสอนมี ดังนี้

1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายทีจะสอน

2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผล ต่อการเรียนการสอนมาก

ที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน

3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน

4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป

5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง

6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน



( 8 )



สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( e – Learning Media )



ถนอมพร เลาหจรัสแสง e – Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม และใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer – Assisted Instruction ) การสอนบนเว็บ ( Web – Based Instruction ) การเรียนออนไลน์ ( On – line Learning ) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวีดีทัศน์ตามอัธยาศัย ( Video – Demand ) เป็นต้น



Clack and Mayer, 2003 e – Learning เป็นการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ โดยใช้ซีดี – รอม อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เป็นช่องทางในการถ่ายทอด มีคุณลักษณะสำคัญคือ บทเรียนมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนใช้เทคนิควิธีการสอนเพื่อช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้ตัวอย่าง แบบฝึกหัด ใช้สื่อการสอนเป็นมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอเนื้อหา และเป็นการสร้างความรู้ ทักษะใหม่ให้แก่ผู้เรียนหรือเพิ่มความสามารถให้แก่องค์กร สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้เรียนหรือองค์กรที่ต้องการ











( 9 )



ลักษณะสำคัญของ ( e – Learning Media )



ลักษณะสำคัญของ e – Learning Media ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ ดังนี้

Anywhere, Anytime หมายถึง e – Learning Media ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศไทย ควรมีการใช้เทคโนโลยีการนำเสนอเนื้อหาที่สามารถแยกดูได้ทั้งขณะที่ออนไลน์ ( เครื่องมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย ) และในขณะที่ออฟไลน์ ( เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย )





รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย e – Learning Media



e – Learning ถือว่ามีสถานะเป็นสื่อการเรียนรู้ แบบหนึ่งโดยใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมากซึ่งครูผู้สอนควรจะได้นำมาใช้ และจะต้องใช้ให้เป็น โดยนำมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. สื่อการเรียนรู้ e – Learning จำแนกตามระบบการเชื่อมโยงข้อมูล ได้ 2 ชนิด คือ

1.1 ชนิด Stand Alone หมายถึง สื่อ e – Learning แบบเปิด ( Offline ) ที่สามารถแสดงผลได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลเครื่องใด ๆ โดยที่ไม่ได้เชื่อมโยงเป็นเครือจ่ายร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นระบบเครือข่ายภายใน ( LAN ) หรือระบบอินเตอร์เน็ต ก็ได้

1.2 ชนิด Online หมายถึงสื่อ e – Learning แบบเปิดที่สามารถแสดงผลได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่มีระบบใกล้เคียงกันโดยมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นระบบเครือข่ายภายใน ( LAN ) หรือระบบอินเตอร์เน็ต ก็ได้



2. สื่อการเรียนรู้ e – Learning จำแนกตามลักษณะวิธีการสื่อสาร ได้ 2 ชนิด คือ

2.1 ชนิดสื่อสารทางเดียว ( One – way communication ) คือ การสื่อสารในลักษณะที่ผู้ให้สารไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับการสื่อสารได้เป็นฝ่ายให้สารและไม่สนใจต่อปฏิกิริยาตอบกลับของอีกฝ่ายหนึ่งสื่อชนิดนี้ได้แก่ สื่อชนิด e –Books ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ที่เน้นการให้ข้อมูล ถึงแม้จะให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับสื่อแต่ก็เป็นไปเพื่อการเลือกศึกษาเนื้อหา ไม่ได้เป็นการโต้ตอบกลับ





( 10 )



2.2 ชนิดสื่อสารสองทาง ( Two – way Communication ) คือการสื่อสารที่มีทั้งให้และรับข่าวสารระหว่างกัน โดยที่แต่ละฝ่ายเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีการโต้ตอบให้ข้อมูลย้อนกลับไปมา สื่อชนิดนี้ได้แก่บทเรียน CAI ชนิดที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือระบบจัดการบทเรียน ( LMS )



3. สื่อการเรียนรู้ e – Learning จำแนกตามระดับการใช้งาน ได้ 3 ชนิด คือ

3.1 สื่อเสริม ( Supplementary ) เป็นสื่อที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอนปกติ ผู้เรียนเรียนแบบปกติ เป็นเพียงสื่อประกอบบทเรียนบ้างเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมที่ผู้เรียนอาจจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ หรือเป็นการที่ครูคัดลอกเนื้อหาจากแบบเรียนไปบรรจุไว้ในอินเตอร์เน็ต แล้วแนะนำให้ผู้เรียนไปเปิดดู

3.2 สื่อเพิ่มเติม ( Complementary ) เป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนปกติ ผู้เรียนเรียนแบบปกติ แต่มีการกำหนดเนื้อหาให้ศึกษา หรือสืบค้นจากสื่ออิเลคทรอนิคส์ หรือ Website เป็นบางเนื้อหาและมีการกำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เข้าไปศึกษาเนื้อหา โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ที่จะต้องมีการวัดและประเมินการเรียนรู้ประกอบไปด้วย ปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนของครูมักจะเป็นแบนี้เพิ่มมากขึ้น

3.3 สื่อหลัก ( Comprehensive Replacement ) เป็นสื่อใช้ทดแทนการเรียนการสอน หรือการบรรยายในชั้นเรียน โดยที่เนื้อหาทั้งหมดมีความสมบูรณ์แบบในตัวเอง ครบกระบวนการเรียนรู้ หรือเป็นเนื้อหา Online ที่มีการออกแบบให้ใกล้เคียงกับครูผู้สอนมากที่สุด เพื่อใช้ทดแทนการสอนของครูโดยตรง สื่อชนิดนี้ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป หรือ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการออกแบบไว้อย่างเหมาะสม ครบวงจรหรือใช้ระบบจัดการบทเรียน ( LMS )



จากการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย e – Learning สรุปได้ว่า e – Learning ไม่ใช่เพียงแค่การสอนในลักษณะเดิม ๆ และนำเอกสารการสอนมาแปลงให้อยู่ใน รูปดิจิตอล และนำไปวางไว้บนเว็บ หรือระบบบริหารจัดการเรียนรู้เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง กระบวนการในการเรียนการสอน หรือการอบรมที่ใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นทางการเรียนรู้ ( flexible learning ) สนับสนุนการเรียนรู้ในลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( learner – centered ) และการเรียนในลักษณะตลอดชีวิต ( life – long learning ) ซึ่งอาศัยการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนทัศน์

( paradigm shift ) ของทั้งกระบวนการในการเรียนการสอนด้วย นอกจากนี้ e – Learning ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนทางไกลเสอมไป ผู้สอนสามารถนำไปใช้ในลักษณะการผสมผสาน ( blended ) กับการสอนในชั้นเรียนได้



( 11 )



ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ e – Learning ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน



- ครูมีภาระในการวางแผนว่า จะเชื่อมโยงทักษะคอมพิวเตอร์เข้าสู่หลักสูตรได้อย่างไร คิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่คิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเข้าไปใช้เทคโนโลยี

- จะทำอย่างไรให้ห้องเรียนเป็นที่เหมาะสมที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้นถ้าถูกนำเข้าสู่ห้องเรียนอย่างทั่วถึงและเหมาะสม ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

- หากครูผลิตหรือเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ ตรงตามเนื้อหาและสภาพผู้เรียน จะช่วยเสริมบรรยากาศหน้าชั้นเรียนของครูได้เป็นอย่างดี

- สิ่งสำคัญคือต้องเน้นว่า ประสิทธิภาพการเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องของกระบวนการหรือวิธีการไม่ใช่เน้นเครื่องมือ ต้องมองว่า กระบวนการนั้นคืออะไร จะเอาสิ่งที่เป็นเทคโนโลยีมาประสานกับกระบวนการให้มีลักษณะของการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ได้อย่างไร ( ยืน ภู่วรวรรณ )



( 12 )



จุดเด่น ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน



1. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ใน วัน เวลา และสถานที่ใดก็ได้ ตามความสะดวก

2. ผู้เรียนสามารถเลือกใช้สื่อในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างหลากหลาย

3. ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจ หรือเรียนรู้ไม่เสร็จทันเวลาสามารถย้อนข้อมูลกลับได้

4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนตนเองได้ทันที



























































( 13 )



ข้อด้อย ของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน



1. ยังขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

2. ในการเรียนจะต้องมีสื่อกลางการเรียน คือ คอมพิวเตอร์

3. ครูผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีความรู้การใช้คอมพิวเตอร์























( 14 )



ข้อเสนอแนะ การนำวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา

มาใช้ในปัจจุบันต้องคำนึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียน



1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ จะต้องมุ่งการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ

ความสามารถของแต่ละบุคคล

2. ความพร้อม เพราะความพร้อในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ถ้าบทเรียนอยู่ในระดับที่

เหมาะสมและตรงกับช่วงเวลาความพร้อมของแต่ละคน ก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

3. การใช้เวลาในการศึกษาจะต้องมีความยืดหยุ่นไม่ควรกำหนดเวลาที่แน่นอนย เพราะเวลาว่าง

ของแต่ละคนจะไม่ตรงกัน

ประสิทธิภาพทางการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้คน

ต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นจึงควรมีวิธีการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายไม่จำเป็นที่จะเรียนรู้จากคอมพิวเตอร

เพียงอย่างเดียว





( 15 )



บรรณานุกรม



- วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

- ถนอมพร เลาหจรัส. คู่มืออาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านการสอนด้วย E-learning

เชียงใหม่ : สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาละยเชียงใหม่, มปป.

- วสันต์ อติศัพท์. การบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการฝึกหัดครู. ปัตตานี : คณะ -

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : มปป.